หลักสูตรฐานสมรรถนะของโรงเรียนประทีปธรรม มูลนิธิ

Sep 19, 2024 12:47 PM โดย ดร.ปรีชา เริงสมุทร์

โรงเรียนประทีปธรรมมูลนิธิ ได้รับการคัดเลือกเป็นสถานศึกษานำร่องพื้นที่นวัตกรรมการศึกษา จังหวัดกระบี่

โรงเรียนประทีปธรรม มูลนิธิได้รับคัดเลือกจากคณะกรรมการขับเคลื่อนพื้นที่นวัตกรรมการศึกษา จังหวัดกระบี่ ให้เป็นสถานศึกษานำร่อง ในปี พ.ศ. 2565 โดยมีสถานศึกษานำร่องพื้นที่นวัตกรรมการศึกษาจังหวัดกระบี่ รุ่นที่ 1 จำนวน 27 โรงเรียน อนึ่งที่ประชุมคณะรัฐมนตรี มีมติเมื่อวันที่ 29 พฤศจิกายน 2565 เห็นชอบการจัดตั้งพื้นที่นวัตกรรมการศึกษา เพิ่มเติมรวมทั้งจังหวัดกระบี่ เป็น 11 จังหวัด และเมื่อรวมกับพื้นที่นวัตกรรมการศึกษาในปัจจุบันที่มีการจัดตั้งแล้ว 8 จังหวัด ส่งผลให้ปัจจุบันมีพื้นที่นวัตกรรมการศึกษา รวมทั้งสิ้น 19 จังหวัด ตามประกาศในภาพ  

 

พื้นที่นวัตกรรมการศึกษาสำคัญอย่างไร

พื้นที่นวัตกรรมการศึกษา หมายถึง พื้นที่การปฏิรูปการบริหารและการจัดการการศึกษาเพื่อสนับสนุนการสร้างนวัตกรรมการศึกษาซึ่งเป็นพื้นที่ระดับจังหวัดที่สถานศึกษานำร่องสามารถจัดการเรียนการสอนที่สอดคล้องกับบริบทในพื้นที่ โดยสามารถมีการบริหารจัดการที่ยืดหยุ่นคล่องตัว ไม่ต้องอิงกับกฎระเบียบที่ไม่จำเป็นหรือไม่เอื้อจากส่วนกลาง มีกลไกการจัดการศึกษาระหว่างภาครัฐ องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ภาคเอกชน และภาคประชาสังคม

เหตุผลที่ประชุมคณะรัฐมนตรี มีมติเห็นชอบให้จังหวัดกระบี่จัดตั้งพื้นที่นวัตกรรมการศึกษา เนื่องจากจังหวัดกระบี่ มีบุคลากรทางการศึกษาที่มีความเข้าใจบริบทของพื้นที่และมีศักยภาพในการสนับสนุนการปฏิรูปการศึกษา โดยให้ความสำคัญกับการยกระดับผลสัมฤทธิ์ทางการศึกษา ความเสมอภาคด้านการศึกษา รวมทั้งส่งเสริมให้ผู้เรียนเข้าใจตนเอง และเลือกเส้นทางในการศึกษาต่อตามความถนัดและความสนใจ สอดคล้องกับความต้องการของตลาดแรงงานในพื้นที่

วัตถุประสงค์ของพื้นที่นวัตกรรมการศึกษา เพื่อปฏิวัติรูปแบบการบริหารจัดการการศึกษารูปแบบใหม่ที่มีเป้าหมายสำคัญ 4 ประการ ดังนี้

  1. คิดค้น พัฒนา นวัตกรรมเพื่อยกผลสัมฤทธิ์ของผู้เรียนอย่างรอบด้าน รวมทั้งดำเนินการขยายผล
  2. ลดความเหลื่อมล้ำในการศึกษา
  3. กระจายอำนาจและให้อิสระแก่หน่วยงานทางการศึกษาและสถานศึกษานำร่องเพื่อเพิ่มคุณภาพและประสิทธิภาพการจัดการศึกษา
  4. สร้างและพัฒนากลไกในการจัดการศึกษาร่วมกันของทุกภาคส่วนในพื้นที่ โรงเรียนได้ทำการพัฒนาหลักสูตรฐานสมรรถนะเป็นหลักสูตรที่ยึดความสามารถของผู้เรียนเป็นหลัก การออกแบบหลักสูตร จะมีการกำหนดเกณฑ์ความสามารถที่ผู้เรียนพึงปฏิบัติได้ หลักสูตรที่เรียกว่าหลักสูตรเกณฑ์ความสามารถ จัดทำขึ้นเพื่อประกันว่าผู้ที่จบการศึกษาระดับหนึ่ง ๆ จะมีทักษะและความสามารถในด้านต่าง ๆ ตามที่ต้องการ เป็นหลักสูตรที่ไม่ได้มุ่งเรื่องความรู้หรือเนื้อหาวิชาที่อาจมีความเปลี่ยนแปลงได้ตามกาลเวลา แต่จะมุ่งพัฒนา ในด้านทักษะ ความสามารถ เจตคติและค่านิยม อันจะมีประโยชน์ต่อชีวิตประจำวันและอนาคตของผู้เรียน  

ลักษณะสำคัญ หลักสูตรฐานสมรรถนะ (Competency-Based Curriculum) 

ลักษณะสำคัญ หลักสูตรฐานสมรรถนะ (Competency-Based Curriculum) หลักสูตรฐานสมรรถนะแตกต่างจากของหลักสูตรปัจจุบันตรงที่ การกำหนดเป้าหมายจะมุ่งไปที่สมรรถนะของผู้เรียนว่า ผู้เรียนจะต้องทำอะไรได้ ซึ่งต่างจากหลักสูตรอิงมาตรฐานที่มาตรฐานและตัวชี้วัดจำนวนมากเน้นไปที่ผู้เรียนว่า จะต้องรู้อะไร สรุปได้ว่า หลักสูตรฐานสมรรถนะเน้นทักษะ (Skl) ในขณะที่หลักสูตรอิงมาตรฐานค่อนข้างเน้นเนื้อหาสาระ (Content) หลักสูตรฐานสมรรถนะจึงเป็นหลักสูตรที่ยึดความสามารถที่ผู้เรียนพึงปฏิบัติไติได้เป็นหลัก เพื่อประกันว่า ผู้ที่จบการศึกษาระดับหนึ่งๆ จะมีทักษะและความสามารถในด้านต่างๆ ตามที่ต้องการ

หลักสูตรฐานสมรรถนะโดยทั่วไป จะกำหนดจุดประสงค์การเรียนรู้เชิงสมรรถนะ (Learning Competencies) โดยทั่วไปสำหรับผู้เรียนในช่วงวัยหรือช่วงชั้นต่างๆ ให้แก่ครู เพื่อใช้ในการจัดการเรียนการสอนให้แก่ผู้เรียนหลักสูตรฐานสมรรถนะ นอกจากจะกำหนดสมรรถนะไว้ให้แล้ว อาจกำหนดสาระการมีความมรู้ชั้นต่ำสำหรับการพัฒนาสมรรถนะที่กำหนดให้แก่ผู้เรียน หรืออาจให้โรงเรียน และครูกำหนดได้ตามความเหมาะสม สมรรถนะและสาระการรียนรู้ที่กำหนดให้นั้นเป็นขั้นต่ำที่จำเป็นสำหรับเด็กไทยทุกคน หลักสูตรจะต้องจัดให้มีพื้นที่สำหรับโรงเรียนและครูในการจัดการเรียนรู้สาระ ทักษะ และคุณลักษณะเฉพาะ เพื่อตอบสนองความต้องการตามความแตกต่างกันของผู้เรียน ภูมิสังคมและบริบท ในสัดส่วนที่เหมาะสมกับผู้เรียนในแต่ละช่วงวัยการกำหนดสมรรถนะที่เป็นเกณฑ์กลาง/มาตรฐานกลางสำหรับการจัดการศึกษาในแต่ละช่วงวัย จะเอื้ออำนวยให้สถานศึกษาสามารถพัฒนาหลักสูตรในรูปแบบต่างๆตามแนวคิดของตนได้ โดยยึดสมรรถนะเป็นเกณฑ์กลาง

โดยหลักสูตรของโรงเรียนประทีปธรรมเป็นประเภทที่ 3 หลักสูตรอื่นๆที่สถานศึกษานำร่องประสงค์จะจัดการเรียนการสอนโดยคณะกรรมการนโยบายพื้นที่ นวัตกรรมการศึกษามีมติเห็นชอบให้สถานศึกษานำร่องสามารถประยุกต์ใช้แนวคิดหลักการของหลักสูตรอิงสมรรถนะ หรือหลักสูตรการศึกษาขั้นพื้นฐานฉบับใหม่หรือใช้นวัตกรรมหรือแนวคิดใหม่ๆ ไปทดลองพัฒนาหลักสูตรสถานศึกษา ของตัวเองได้รวมทั้งสถานศึกษานำร่องสามารถปรับการจัดการเรียนการสอนและการวัดประเมินผลให้สอดคล้องกับหลักสูตรดังกล่าว 

หลักสูตรนี้ เป็นหลักสูตรประเภทที่ 3 กล่าวคือ เป็นหลักสูตรที่สถานศึกษานําร่องประสงค์จะจัดการเรียนการสอนโดยไม่ใช้ หลักสูตรตามมาตรา 20 (4) เป็นหลักสูตรตามมาตรา 25 วรรคสี่ ซึ่งคณะกรรมการนโยบายพื้นที่นวัตกรรม การศึกษา เมื่อวันที่ 21 กันยํายน 2563 มีมติเห็นชอบให้สถานศึกษานําร่องสามารถประยุกต์ใช้แนวคิด หลักการชองหลักสูตรอิงสมรรถนะหรือ หลักสูตรการศึกษาขั้นพื้นฐานฉบับใหม่ หรือใช้นวัตกรรมหรือแนวคิดใหม่ๆ ไปทดลองพัฒนาหลักสูตรสถานศึกษาของตนเอง

รวมทั้งสถานศึกษานําร่องสามารถปรับการจัดการเรียน การสอนและวัดประเมินผลให้สอดคล้องกับ หลักสูตรดังกล่ําวเป็นหลักสูตรที่ยึดความสามารถของผู้เรียนเป็นหลัก การออกแบบหลักสูตร มีการกําหนดเกณฑ์ความสามารถที่ผู้เรียนพึงปฏิบัติได้ หลักสูตรที่เรียกว่าหลักสูตรเกณฑ์ความสามารถ จัดทําขึ้นเพื่อประกันว่าผู้ที่จบการศึกษาระดับหนึ่ง ๆ จะมีทักษะและความสามารถในด้านต่าง ๆ ตามที่ต้องการ

หลักสูตรนี้ เป็นหลักสูตรที่ไม่ได้มุ่งเรื่องความรู้หรือเนื้อหาวิชาที่อาจมีความเปลี่ยนแปลงได้ตามกาลเวลา แต่จะมุ่งพัฒนา ในด้านทักษะ ความสามารถ เจตคติและค่านิยม อันจะมีประโยชน์ต่อชีวิตประจําวันและอนาคตของผู้เรียน

 

หลักสูตรฐานสมรรถนะของโรงเรียนประทีปธรรมมูลนิธิเป็นอย่างไร 

การออกแบบหลักสูตร การจัดการเรียนรู้และการวัดและประเมินผล การเรียนรู้ ตาม (ร่าง) กรอบ หลักสูตรการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2564  จึงมีเป้าหมาย ในการพัฒนาสมรรถนะ หลักของผู้เรียนที่เหมาะสมตามช่วงวัย จัดสภาพแวดล้อมและเส้นทางการเรียนรู้(Learning Pathways) ที่หลากหลาย

จัดระบบสนับสนุนการเรียนรู้ที่สอดคล้องกับธรรมชาติของผู้เรียน(Differentiated Learning) ใช้กระบวนการจัดการเรียนรู้เชิงรุก ใช้สื่อและสถานการณ์การเรียนรู้ ที่ร่วมสมัย หลากหลายและยืดหยุ่น ตามความสนใจและความถนัดของผู้เรียน บริบท และจุดเน้นของสถานศึกษาและชุมชนแวดล้อม เน้นประเมิน การเรียนรู้เพื่อพัฒนาและสะท้อนสมรรถนะของผู้เรียนตามเกณฑ์ การปฏิบัติที่เป็นธรรม เชื่อถือได้ เอื้อต่อ การถ่ายโยงการเรียนรู้และพัฒนาในระดับที่สูงขึ้นตามความเชี่ยวชาญของผู้เรียนอย่างต่อเนื่อง

โรงเรียนประทีปธรรมมูลนิธิ มีเป้าหมายให้ผู้เรียนบรรลุผลลัพธ์การเรียนรู้ตามจุดประสงค์ฐานสมรรถนะที่เกิดจากความ ฉลาดรู้ (Literacy) จากประสบการณ์ตรง เป็นการสร้างสมรรถนะด้วยชุดความรู้ความเข้าใจของตนเอง ผ่านกระบวนการคิดขั้นสูงและลึกซึ้ง จนเกิดเจตคติและตระหนักถึงคุณค่าที่มีความหมายต่อตนเองและผู้อื่น สามารถนําชุดความรู้นั้น ๆ ไปพัฒนาชุมชน สังคม และสิ่งแวดล้อมที่เกื้อกูลกับธรรมชาติต่อไป

โรงเรียนประทีปธรรมมูลนิธิจึงจัดทําหลักสูตรสถานศึกษาฐานสมรรถนะ เพื่อออกแบบการจัดการเรียนรู้ให้กับนักเรียน เป็นรายบุคคลได้อย่างแท้จริง มีการจัดกระบวนการเรียนรู้ขั้นสูงผ่านประสบการณ์ รองรับความแตกต่าง และพัฒนาศักยภาพ ที่เน้นผลลัพธ์การเรียนรู้ของผู้เรียนเป็นสมรรถนะติดตัว นําสู่การเปลี่ยนแปลง พัฒนา ทั้งตนเอง สังคม สิ่งแวดล้อม และประเทศชาติ

โดยใช้ระบบการประเมินสมรรถนะ หรือการบรรลุเป้าหมาย ในเชิงผลลัพธ์การเรียนรู้ของผู้เรียนเป็นเกณฑ์ อันจะเป็นเป้าหมายให้ครูผู้สอนนําพาผู้เรียนไปสู่การพัฒนา ให้เกิดสมรรถนะการเรียนรู้ที่จําเป็นต่อการศึกษาและการดํารงชีวิตในโลกยุคปัจจุบันและอนาคต

ในการนี้ขอขอบคุณบุคลากรโรงเรียนประทีปธรรมมูลนิธิทุกท่าน ที่ได้ร่วมมือ ร่วมแรงและร่วมใจในการจัดทํา สูตรสถานศึกษาฐานสมรรถนะ ปีการศึกษา 2567 ทั้งระดับประถมศึกษาและมัธยมศึกษา ให้มีความสมบูรณ์ และพร้อมสําหรับการนําไปใช้พัฒนาผู้เรียนให้เกิดประโยชน์ต่อไป

เราจะพัฒนาหลักสูตรสถานศึกษาฐานสมรรถนะได้อย่างไร

ในการพัฒนาหลักสูตรสถานศึกษาฐานสมรรถนะ เราต้องทำความเข้าใจองค์ประกอบของหลักสูตรและ ความสัมพันธ์ระหว่างองค์ประกอบต่างๆ ก่อน เพื่อให้เกิดความความสอดคล้องสัมพันธ์กันระหว่างสิ่งที่กำหนดไว้ใน เอกสารหลักสูตรและการนำหลักสูตรไปใช้จริง หากพิจารณาตามเกณฑ์การพิจารณาหลักสูตรสถานศึกษาฐานสมรรถนะ ของสำนักงานพื้นที่นวัตกรรม การศึกษา (สบน.) จะเห็นได้ว่ามีการจัดทำเกณฑ์ขึ้นบนฐานขององค์ประกอบหลักที่สำคัญของการจัดการศึกษาฐาน สมรรถนะ ประกอบด้วย การจัดหลักสูตรฐานสมรรถนะ การจัดการเรียนรู้ฐานสมรรถนะ และการวัดและประเมินผล ฐานสมรรถนะ โดยจัดกลุ่มเกณฑ์เป็น 7 ด้านหลัก ได้แก่ 

  1. แนวคิด ข้อมูลพื้นฐาน และกระบวนการจัดทำหลักสูตร สถานศึกษาฐานสมรรถนะ 
  2. เป้าหมายและพันธกิจของสถานศึกษา 
  3. แบบแผนของหลักสูตรสถานศึกษาฐาน สมรรถนะ 
  4.  แนวทางการจัดการเรียนรู้ฐานสมรรถนะ 
  5.  แนวทางการวัดและประเมินผลการเรียนรู้ฐานสมรรถนะ 
  6. แนวทางการบริหารจัดการหลักสูตรฐานสมรรถนะ 
  7. หลักสูตรระดับชั้นเรียน 

ทั้งนี้ข้อมูลในเกณฑ์แต่ละด้านจะมี ความสัมพันธ์เชื่อมโยงกัน

 ในการเริ่มต้นพัฒนาหลักสูตรสถานศึกษาฐานสมรรถนะนั้น ต้องศึกษาบริบทของสถานศึกษา ชุมชน ท้องถิ่น พื้นที่ จังหวัด นโยบายระดับชาติ และแนวโน้มการจัดการศึกษาในระดับสากล  เพื่อให้เข้าใจพื้นฐานและต้นทุนที่มี ซึ่งข้อมูลใน ส่วนนี้จะเป็นปัจจัยสำคัญในการนำมากำหนดแนวคิดหลัก (School Concept) หรือจุดเน้น วิสัยทัศน์ และพันธกิจ ของสถานศึกษาให้สอดคล้องกับความต้องการจำเป็น บริบทในระดับต่างๆ และต้นทุนของสถานศึกษา รวมทั้งนำไปสู่ การกำหนดแบบแผนของหลักสูตรสถานศึกษาฐานสมรรถนะ ได้แก่ จุดหมายของหลักสูตร คุณลักษณะของผู้เรียน สมรรถนะหลัก สาระการเรียนรู้ผลลัพธ์การเรียนรู้ให้สอดคล้องกับจุดเน้นและวิสัยทัศน์ของสถานศึกษา รวมทั้ง ตอบสนองต่อปัญหาความต้องการของผู้เรียนและชุมชน 

จากนั้นกำหนดการจัดรายสาระการเรียน โครงสร้างเวลาเรียน และนำมาสู่การจัดทำคำอธิบายรายสาระการเรียนรู้ทั้งนี้ แม้จุดเน้นของสถานศึกษาอาจจะมีความเหมือนกัน แต่เนื่องจากข้อมูลในส่วนบริบทของสถานศึกษามีความแตกต่างกัน การกำหนดจุดหมายของ หลักสูตร คุณลักษณะของผู้เรียน สมรรถนะหลัก สาระการเรียนรู้ ผลลัพธ์การเรียนรู้ การจัดรายสาระการเรียน โครงสร้างเวลาเรียน ก็จะมีความแตกต่างกันตามบริบทของสถานศึกษา ในส่วนของแบบแผนของหลักสูตรสถานศึกษาฐานสมรรถนะ สถานศึกษาจะต้องศึกษาและทำความเข้าใจ (ร่าง) กรอบหลักสูตรการศึกษาขั้นพื้นฐาน พ.ศ.... เพื่อใช้เป็นกรอบในการพัฒนาหลักสูตรตามข้อกำหนด 

อย่างไรก็ตามสถานศึกษาสามารถเพิ่มเติมจุดหมายของหลักสูตร คุณลักษณะของผู้เรียน สมรรถนะหลัก สาระการเรียนรู้ ผลลัพธ์การเรียนรู้ในหลักสูตรสถานศึกษาได้ หากพบว่าข้อกำหนดในหัวข้อดังกล่าวยังไม่สอดคล้องหรือครอบคลุม แนวคิดหลัก (School Concept) วิสัยทัศน์ และจุดมุ่งหมายของหลักสูตรสถานศึกษา เพื่อให้สอดคล้องและตอบโจทย์ ความต้องการเฉพาะหรือบริบทของสถานศึกษา โดยมีโครงสร้างเวลาเรียนตามข้อกำหนดของ (ร่าง) กรอบหลักสูตรฯ จากนั้นกำหนดแนวทางการจัดการเรียนรู้ฐานสมรรถนะเพื่อพัฒนาผู้เรียนให้เกิดคุณลักษณะและสมรรถนะ ตาม จุดหมายของหลักสูตรและจุดเน้นของสถานศึกษา กำหนดแนวทางการวัดและประเมินผลการเรียนรู้ฐานสมรรถนะ และกำหนดแนวทางการบริหารจัดการหลักสูตรฐานสมรรถนะ รวมทั้งจัดทำหลักสูตรระดับชั้นเรียนที่มีการกำหนด สถานการณ์ งาน และกิจกรรมการเรียนรู้ ที่สอดคล้องกับหลักการจัดการเรียนรู้ฐานสมรรถนะและทางการจัดการ เรียนรู้ที่สถานศึกษากำหนด สิ่งสำคัญในการจัดทำหลักสูตรสถานศึกษาฐานสมรรถนะคือ ข้อมูลในองค์ประกอบต่างๆ จะต้องมีความ สอดคล้องสัมพันธ์กันทั้งระหว่างองค์ประกอบภายในแต่ละด้านและองค์ประกอบภายนอก โดยมีความเชื่อมโยงของ ด้านต่างๆ ตั้งแต่ข้อมูลพื้นฐานไปจนถึงหลักสูตรระดับชั้นเรียน 

 

อ่านและศึกษาหลักสูตรฐานสมรรถนะโรงเรียนประทีปธรรมมูลนิธิ คลิ้ก 

1. ลิ้งค์ คู่มือการจัดทำหลักสูตรสถานศึกษาฐานสมรรถนะ https://drive.google.com/file/d/1bQp5Y4efepNTdwReSzRk_KW-0w_WtchC/view?usp=drive_link

2. ลิ้งค์ หลักสูตรฐานสมรรถนะ : https://drive.google.com/file/d/1bKfoKwB8VX9PxuEekH_mWxPL7l3tYNsR/view?usp=drive_link

3. ลิ้งค์ ภาคผนวก: https://drive.google.com/file/d/1bMLhr2ME27V7pznRT1weawTxcSxDZKnC/view?usp=drive_link3. 

ดร.วิทยา เริงสมุทร์
ผู้อำนวยการ
โรงเรียนประทีปธรรม มูลนิธิ